สิ่งที่ควรทราบ :
ถังก๊าซหุงต้ม LPG มีอัตราการระเหยเป็นไอสูงสุด 3-4kg/hr. และอัตราการระเหยต่ำสุด 1.5kg/hr. ต่อ 1ถัง
(1.5kg/hr. คิดเป็นค่าพลังงาน เท่ากับ 75,000BTU/hr.)
ตัวอย่างการคำนวณ :
- เตาแก๊สKB5 จำนวน 1เตา ใช้พลังงานก๊าซ 50,000BTU/hr.
- เตาแก๊สKB5 จำนวน 3เตา จะใช้พลังงานที่ 150,000BTU/hr.
(พลังงานที่จะใช้÷อัตราระเหยของแก๊ส 1ถัง) (150,000÷75,000) = 2
ดังนั้น กรณีนี้ร้านอาหารต้องใช้แก๊ส(ตั้งถังแก๊ส) อย่างน้อย 2ถังขึ้นไป จึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน
หรือกรณีโครงการที่มีหลายร้านค้า (ยกตัวอย่าง มี 10ร้านค้า)
ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่ร้านอาหารต้องการทั้งหมด 10 ร้านค้า = 4.5kg/hr. x 10 ร้านค้า (ค่า 4.5kg/hr.มาจาก 1.5kg/hr * 3เตา)
= 45kg/hr. (Maximum Load)
*ในความเป็นจริงแล้ว การใช้เชื้อเพลิงอาจจะใช้ไม่พร้อมกันทุกๆหัวเตาและทุกร้านค้า
สมมุติว่า ถ้าใช้เชื้อเพลิงรวมทั้งโครงการเฉลี่ยประมาณ 70% = 45kg/hr x 0.7 = 32kg/hr.
ปริมาณของถังก๊าซที่ใช้ในโครงการนี้
– ปริมาณการใช้แก๊สสูงสุดภายในโครงการ = 45kg/hr.
– ปริมาณการใช้แก๊สเฉลี่ยภายในโครงการ = 32kg/hr.
* ถ้าภายใน 1 วัน โครงการใช้แก๊ส ~ 12 ชั่วโมง
– ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้สูงสุดต่อวัน = 45kg/hr x 12 hr = 540kg./วัน
– ปริมาณเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวัน (70%) = 32kg/hr x 12 hr = 378kg./วัน
เนื่องจากถังก๊าซ 1 ถัง บรรจุเนื้อก๊าซหนัก 48kg. โครงการนี้จะใช้ถังก๊าซจำนวน
– สูงสุด ต่อวัน = 540kg/วัน ÷ 48kg/ 1 ถัง 12 ถัง/วัน
– เฉลี่ยต่อวัน = 378kg/วัน ÷ 48kg/1 ถัง = 8 ถัง/วัน
หมายเหตุ :
- ถ้าปริมาณการใช้ต่อวันน้อย จำนวนถังก๊าซที่ใช้ต่อวันก็จะลดลงตามไปด้วย
- การคำนวณข้างต้นเป็นอัตราเฉลี่ยเท่านั้น เพราะอัตราการระเหยเป็นไอ ยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิรอบถัง และค่าความถ่วงจำเพาะของแก๊สในถัง